• History

    ประวัติและเรื่องราวน่ารู้ต่างๆของสหภาพยุโรป ตั้งแต่เริ่มต้น วิวัฒนาการและโครงสร้างต่างๆของ สหภาพยุโรป

  • Economy

    ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ บทความวิเคราะห์ เศรษฐกิจและสภาพการเงิน การตลาด ของสหภาพยุโรปทั้งโดยรวมและแยกของประเทศสมาชิก

  • Political

    สาระข่าวสารและบทความน่าอ่านเกี่ยวกับการเมืองของสหภาพยุโรปจากนักวิชาการต่างๆที่มีชื่อเสียง รวบรวมมาให้ท่านได้อ่านอย่างจุใจที่นี่ที่เดียว

About

About

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ EU169

eu169.com เว็บที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ที่น่าสนใจ และสาระต่างๆเกี่ยวกับสหภาพยุโรป (European Union: EU) อาทิเช่น ภูมิศาสตร์ การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจหรือสภาพทางการเงิน และอื่นๆ
  • 25

    member states

  • 4475k km2

    Area

  • 510M

    Population

  • $16.477 trillion

    GDP

EuroPEAN Slogan

Unity in Diversity

Institutions of the European Union

Recent News

บทความข่าวสารล่าสุดของสหภาพยุโรป

  • เหตุผลทำไมอังกฤษถึงอยากออกจากสหภาพยุโรป

    หลังจากเหตุการณ์ลงประชามติออกจาก EU ของประชาชนในสหราชอาณาจักร ด้วยคะแนน 52 ต่อ 48 รวมทั้งจากการที่ นาย David Cameron นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบ หากแต่คำถามต่อมา คือเหตุผลอะไร ที่ชาวอังกฤษส่วนใหญ่จึงตัดสินใจเช่นนี้… ไม่ต้องการอุ้มชูประเทศสมาชิกมีเศรษฐกิจตกต่ำ เมื่อประเทศสมาชิกเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างเช่น ประเทศกรีซ ที่พบกับปัญหาจนเกือบล้มละลาย จนเกือบจะถูกบีบให้ออกจาก สมาชิก EU นอกจากนี้ยังมีสมาชิกอีกหลายประเทศที่มีปัญหานี้เช่นเดียวกัน ซึ่งปัญหานี้ส่งผลให้ประเทศร่ำรวย ต้องแบ่งงบประมาณของตน ในการเข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟู เพื่อไม่ให้ปัญหาส่งผลกระทบต่อสหภาพยุโรปได้ เสียค่าใช้จ่ายไปเปล่าๆ โดยประเทศอังกฤษ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ต้องให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ EU ซึ่งจากการช่วยเหลือนี้ ทำให้อังกฤษต้องสูญเสียงบประมาณไปจำนวนมาก แน่นอนว่าประชาชนชาวอังกฤษก็เกิดความรู้สึกไม่พอใจ อีกทั้ง EU ยังไม่อาจแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสรีและประชาธิปไตย ประชาชนชาวอังกฤษ มักจะมองคนในประเทศชาติของตัวเองเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นประเทศที่ยึดถือความภาคภูมิใจในเสรีภาพทางการเมือง และระบอบประชาธิปไตยของตนเป็นอย่างมาก บวกกับอารมณ์ความรู้สึกเบื่อหน่ายกับปัญหาของ EU ที่เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ เช่น ปัญหาการโยกย้ายเข้าเมืองของสมาชิก EU , ปัญหาด้านผู้อพยพจากตะวันออกกลาง , ปัญหาที่ต้องร่วมจ่ายค่าสมาชิกกว่า […]

  • เมื่อสหภาพยุโรปเกิดการแตกแยกจะเป็นอย่างไร ?

    เราอาจจะมองเห็นถึงความแตกแยกของกลุ่ม สหภาพยุโรปได้จากช่องทางข้าวสารต่างๆ EU เข้าสู่ความเป็นเสรีนิยม ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปภายใต้การนำของ Jacque Delors โดยนโยบายนี้ได้สร้างให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจ รวมทั้งการเงินไปอยู่กับองค์กรเหนือรัฐมากขึ้น โดยที่องค์กรเหล่านี้ล้วนส่งเสริมนโยบายเสรีนิยมใหม่อย่างเคร่งครัดไปพร้อมๆกับกลุ่มนายทุนขนาดใหญ่ในยุโรป สหภาพยุโรปกับปัญหาในเรื่องเสรีนิยมใหม่ Eu มีแนวคิดว่านิยมเสรีจึงเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจ ที่ต้องพึ่งองค์อิสระ เช่น ธนาคารกลางยุโรป , ผู้เชี่ยวชาญ และ Technocrat จนประเด็นเหล่านี้ ได้กลายเป็นประเด็นหลัก ซึ่งอยู่นอกเขตทางการเมือง นอกจากนี้ยังจัดเป็นอิสระจากการกำกับทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย จากคุณลักษณะเช่นนี้นี่เอง ที่ก่อให้เกิดสิ่งที่หลายๆคนเรียกว่าเป็นปัญหาการขาดพร่องประชาธิปไตย ในระบบการปกครองของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ EU แบบเสรีนิยมใหม่ ยังก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในประเทศยุโรปทางเหนือ เช่น ประเทศเยอรมนีหรือฝรั่งเศสกับประเทศยุโรปทางใต้ เช่น โปรตุเกส , อิตาลี , ไอร์แลนด์ , กรีซ รวมทั้งสเปน อีกทั้งการสร้างสกุลเงิน EURO ขึ้นมายิ่งก่อให้เกิดสภาวะความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจเข้าไปใหญ่ โดยรัฐทางยุโรปใต้ได้ประสบปัญหากับสภาวะขาดดุลอย่างรุนแรง โดยสภาวะความขัดแย้งของ EU ได้กระตุ้นให้นักวิชาการเสนอว่าควรเร่งพัฒนาในเรื่องของ ‘ทฤษฎีความแตกแยกของสหภาพยุโรป’ เพื่อทำความเข้าใจในหลักการพัฒนาระบบทุนนิยมของ […]

  • ความสัมพันธ์สหภาพยุโรป กับไทย ได้อะไรบ้าง

    ประเทศไทย กับทวีปยุโรปนั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันมานานมาก ทั้งในด้านการทูต การเมือง การทหาร และการถ่ายเทองค์ความรู้ระหว่างกันเยอะมาก ซึ่งความสัมพันธ์สหภาพยุโรปกับไทยนั้น ก่อให้เกิดผลดีกับทั้งสองทางมากมายเรามาดูกันว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับไทยนั้นมีมิติไหนบ้าง ได้อะไรบ้าง ความสัมพันธ์ทางการเมือง มิติทางด้านการเมือง เดิมทีไทยเรากับสหภาพยุโรป เป็นไปด้วยดี แต่หลังจากเกิดเหตุรัฐประหารขึ้นในบ้านเรา ความสัมพันธ์ในมิตินี้ก็ถอยลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ตอนนี้ไทยเรากำลังจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งนั่นทำให้การเจรจาความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองกำลังจะกลับมาอีกครั้ง ภายใต้ข้อตกลงที่มีชื่อว่า PCA ที่จะเน้นความร่วมมือทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปถือว่าเป็นแหล่งค้าขายแห่งใหญ่ของไทยเราเลยก็ว่าได้ ทั้งกำลังซื้อ และ จำนวนประชากร นั่นทำให้การส่งออกของเราให้ความสำคัญกับตรงนี้ค่อนข้างมากทีเดียว ซึ่งความสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับสหภาพยุโรป เราเจรจากันภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA โดยมีหัวข้อต่างๆที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามอย่างเช่น เรื่องของภาษี การบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่องนี้สำคัญตรงที่ว่าเราต้องมาจับตาดูว่าการเจรจา FTA รอบใหม่จะเกิดขึ้นเมื่อไร ส่วนสินค้าส่งออกจากไทยไปอียูสามอันดับแรกก็คือ เครื่องจักรอุปกรณ์ขนส่ง, ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด, และอาหาร ส่วนสินค้าไทยเรานำเข้ามาจากอียูมี เครื่องจักรอุปกรณ์ขนส่ง, ผลิตภัณฑ์เคมี, สินค้าอุตสาหกรรม ความร่วมมือทางด้านวิชาการ ต้องยอมรับว่าแม้ว่าไทยเราจะมีการพัฒนาความรู้ องค์ความรู้ทางด้านวิชาการสาขาต่างๆ ศาสตร์แขนงอื่นๆ แต่บางศาสตร์เราก็ถือว่ายังตามหลังประเทศในทวีปยุโรปอยู่เยอะมาก นั่นทำให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการของทั้งสองฝ่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือระดับหน่วยงานของรัฐ หรือ ความร่วมมือในระดับมหาวิทยาลัยที่มีการส่งนักศึกษาไปเรียนต่างประเทศก็อยู่ในความร่วมมือนี้ด้วย […]

CONTACT US

ติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกัวสหภาพยุโรปได้ทางช่องทางด้านล่าง